วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 10 เรียงความเรื่องแม่
               
            ฉันไม่รู้ว่า แม่ ในความหมายของคุณหมายความว่าอย่างไร แต่กับฉันมันคือทุกอย่างในชีวิต เป็นมากกว่าธนาคารเมื่อเราเงินหมด  เราไม่ได้ฝากแต่เราสามารถถอนได้ทุกเวลา  เป็นคนที่ให้อภัยเราได้เสมอเมื่อยามที่เราทำผิดพลาดไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่  เป็นแสงเทียนให้เรายามเรามืดมนไม่มีทางที่จะไป  เป็นนางฟ้าที่คอยเสกสรรสิ่งต่างๆมาให้เราเมื่อเราต้องการมัน เป็นคุณครูคอยสั่งสอนเราให้เป็นคนดี  เป็นเพื่อนยามที่เรามีปัญหา  เป็นที่พักพิงใจยามที่เราเหนื่อยล้า  และยังเป็นอีกมากมายที่ไม่สามารถบรรยายได้หมด    ไม่มีผู้หญิงคนไหนที่รักเราได้เท่ากับแม่อีกแล้ว
             ตั้งแต่ที่ฉันจำความได้ฉันก็อยู่กับตาและยาย  ส่วนพ่อกับแม่ไปทำงานที่กรุงเทพ  เพื่อส่งเงินมาให้ลูกๆที่อยู่ข้างหลัง  ฉันเข้าใจในสิ่งที่พ่อกับแม่ต้องปล่อยให้ฉันอยู่กับตาและยาย   ฉันไม่เคยที่จะน้อยใจท่านเลยแต่มันกลับทำให้ฉันรู้สึกรักท่านมากขึ้นเพราะฉันรู้ว่าทุกสิ่งที่ท่านทำไม่ใช่เพื่อใครแต่ท่านทำเพื่อลูกทุกคน 
             ยายไม่เคยทำให้ฉันรู้สึกว่าฉันขาดความรักจากแม่สักนิด  แต่ยายมาทำให้คำว่าความรักของแม่เติมเต็มขึ้นมา   คอยสอนฉันให้เป็นคนดี  สอนให้ทำทุกอย่างเป็น  สอนให้เป็นคนรู้จัก ให้ มากกว่า รับ  ยายก็เป็นเสมือนแม่ของฉันคนหนึ่ง  ถึงท่านไม่ได้อุ้มท้องฉันมา  แต่ท่านเป็นคนที่คอยดูแลฉันมาตลอด  คอยอบรมดูแลฉัน  ความรักที่ท่านมีให้ฉันมันคือความรักที่บริสุทธิ์ ไม่เคยที่จะหวังผลตอบแทน  แค่อยากเห็นหลานคนนี้เป็นคนดี  มีความสุข  แค่นี้มันก็ทำให้ท่านมีความสุข
             คำว่าแม่อาจหมายถึงผู้ที่ให้กำเนิดเรามาสำหรับหลายคน  แต่สำหรับฉันคือผู้ที่คอยให้ความรักความดูแลเราไม่ว่าคนๆนั้นจะให้กำเนิดเรามาหรือไม่แต่ท่านก็เปรียบเสมือนแม่ของฉันคนหนึ่ง  และตราบที่ฉันมีชีวิตอยู่ฉันจะทำทุกสิ่งเพื่อให้ท่านมีความสุข


กิจกรรมที่ 9 ลักษณะของชั้นเรียนที่ดี
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน
          บรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความสนใจใคร่รู้ใคร่เรียนให้แก่ผู้เรียน   ชั้นเรียนที่มีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน ย่อมเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการเรียน รักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และช่วยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความประพฤติอันดีงามให้แก่นักเรียน นอกจากนี้การมีห้องเรียนที่มีบรรยากาศแจ่มใส สะอาด สว่าง กว้างขวางพอเหมาะ มีโต๊ะเก้าอี้ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีมุมวิชาการส่งเสริมความรู้ มีการตกแต่งห้องให้สดใส ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ส่งผลทำให้ผู้เรียนพอใจมาโรงเรียน เข้าห้องเรียนและพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนั้น ผู้เป็นครูจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ ประเภทของบรรยากาศ หลักการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนและการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุข เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีลักษณะตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้
การจัดบรรยากาศทางด้านกายภาพ
          การจัดบรรยากาศทางด้านกายภาพ เป็นการจัดวัสดุอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน รวมตลอดไปถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เสริมความรู้ เช่น ป้ายนิเทศ มุมวิชาการ ชั้นวางหนังสือ โต๊ะวางสื่อการสอน ฯลฯ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ทำให้เกิดความสบายตา สบายใจ แก่ผู้พบเห็น ถ้าจะกล่าวโดยละเอียดแล้ว การจัดบรรยากาศทางด้ายกายภาพ ได้แก่ การจัดสิ่งต่อไปนี้
1.การจัดโต๊ะเรียนและเก้าอี้ของนักเรียน
            1.1   ให้มีขนาดเหมาะสมกับรูปร่างและวัยของนักเรียน
            1.2   ให้มีช่องว่างระหว่างแถวที่นักเรียนจะลุกนั่งได้สะดวก และทำกิจกรรมได้คล่องตัว
            1.3   ให้มีความสะดวกต่อการทำความสะอาดและเคลื่อนย้ายเปลี่ยนรูปแบบที่นั่งเรียน
            1.4   ให้มีรูปแบบที่ไม่จำเจ เช่น อาจเปลี่ยนเป็นรูปตัวที ตัวยู รูปครึ่งวงกลม หรือ เข้ากลุ่มเป็นวงกลม ได้อย่างเหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอน
            1.5   ให้นักเรียนที่นั่งทุกจุดอ่านกระดานดำได้ชัดเจน
            1.6   แถวหน้าของโต๊ะเรียนควรอยู่ห่างจากกระดานดำพอสมควร ไม่น้อยกว่า 3 เมตร ไม่ควรจัดโต๊ะติดกระดานดำมากเกินไป ทำให้นักเรียนต้องแหงนมองกระดานดำ และหายใจเอาฝุ่นชอล์กเข้าไปมาก ทำให้เสียสุขภาพ
 2.การจัดโต๊ะครู
            2.1   ให้อยู่ในจุดที่เหมาะสม อาจจัดไว้หน้าห้อง ข้างห้อง หรือหลังห้องก็ได้ งานวิจัยบางเรื่องเสนอแนะให้จัดโต๊ะครูไว้ด้านหลังห้องเพื่อให้มองเห็นนักเรียนได้อย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม การจัดโต๊ะครูนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบการจัดที่นั่งของนักเรียนด้วย
            2.2   ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งบนโต๊ะและในลิ้นชักโต๊ะ เพื่อสะดวกต่อการทำงานของครู และการวางสมุดงานของนักเรียน ตลอดจนเพื่อปลูกฝังลักษณะนิสัยความเป็นระเบียบเรียบร้อยแก่นักเรียน
3. การจัดป้ายนิเทศ  ป้ายนิเทศไว้ที่ฝาผนังของห้องเรียน ส่วนใหญ่จะติดไว้ที่ข้างกระดานดำทั้ง 2 ข้าง ครูควรใช้ป้ายนิเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน โดย
            3.1    จัดตกแต่งออกแบบให้สวยงาม น่าดู สร้างความสนใจให้แกนักเรียน
            3.2    จัดเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับบทเรียน อาจใช้ติดสรุปบทเรียน ทบทวนบทเรียน หรือเสริมความรู้ให้แก่นักเรียน
            3.3    จัดให้ใหม่อยู่เสมอ สอดคล้องกับเหตุการณ์สำคัญ หรือวันสำคัญต่าง ๆ ที่นักเรียนเรียนและควรรู้
            3.4    จัดติดผลงานของนักเรียนและแผนภูมิแสดงความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียนจะเป็นการให้แรงจูงใจที่น่าสนใจวิธีหนึ่ง

กิจกรรมที่ 8 ครูมืออาชีพในทัศนะคติของข้าพเจ้า
           ในทัศนะคติของข้าพเจ้าครูมืออาชีพจะต้องมีคุณภาพการสอน     สิ่งที่ครูมืออาชีพควรตระหนักเป็นอย่างยิ่งก็คือ “คุณภาพการสอนซึ่งเป็นความสามารถที่จะสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกคน   ครูมืออาชีพ จึงต้องมีความสามารถต่อไปนี้
        1. สามารถประยุกต์ใช้ยุทธศาสตร์ และการจัดระบบ ได้อย่างเหมาะสมกับการเรียนรู้และความต้องการทางการศึกษาของผู้เรียน สภาพแวดล้อมของโรงเรียนและสาระการเรียนรู้ที่สอน
        2. สามารถติดตามการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ใช้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อวางแผนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่มและเป็นชั้น
 
       3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างอิสระ ฝึกการใช้ภาษา คาดหวังให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้
       4. พัฒนาความสัมพันธ์เชิงจรรยาบรรณ  บนพื้นฐานทักษะการสื่อสารที่ดีให้การยอมรับผู้เรียนทุกคน และคาดหวังจะได้รับการยอมรับจากผู้เรียน

       5. มีความรู้ที่ทันสมัย และสนับสนุนข้อคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตรอย่างกระตือรือร้น
       6. เชื่อความสามารถในการเรียนของผู้เรียนทุกคน คาดหวังว่าผู้เรียนทุกคนเรียนรู้และส่งความคาดหวังนี้ไปยังแต่ละบุคคล โรงเรียนและชุมชน

       7. กระตือรือร้นในการฝึกผู้เรียนเข้าสู่ประสบการณ์แห่งการเรียนรู้เรื่องที่ผู้เรียนเห็นว่ามีความสำคัญต่อชีวิตของตน
 
      8. ช่วยให้ผู้เรียนสามารถสร้างความเชื่อมโยง เข้าใจความสัมพันธ์ลักษณะของครูมืออาชีพ
ลักษณะของครูมืออาชีพ
        1) สอนดี
                - จัดกระบวนการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
                - จัดสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัด ความต้องการและตามสภาพของผู้เรียน
                - จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้คิด ปฏิบัติและเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
                - จัดการเรียนรู้ที่เน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรมและกระบวนการเรียนรู้
               - จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสาถานที่ สามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้
               - จัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองจากเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
        2) มีคุณธรรมและวินัย
               - ปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูและจรรยาบรรณครู
               - ปฏิบัติตามระเบียบ วินัยข้าราชการครู
         3) ใฝ่ก้าวหน้าและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
                - พัฒนาตนเอง
                - ศึกษาหาความรู้ เพิ่มพูนทักษะและมีเจตคติที่ดีในการปฏิบัติงาน
                - พัฒนาการเรียนการสอน
                - จัดกระบวนการเรียนรู้ที่บ่งชี้ว่า สอนดี อย่างต่อเนื่อง
                - พัฒนาผู้เรียน
                 - มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้ ดี เก่ง และมีสุข


วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

ทดสอบปลายภาค
4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหากนักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้
          การเรียนรู้โดยการใช้บล็อกเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเรียนการสอนในปัจจุบัน  ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะในการเรียนโดยการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้
  ซึ่งวิชานี้นำเอาบล็อกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนซึ่งเกิดประโยชน์แก่ตัวผู้เรียนมาก เช่น จะทำให้สะดวกในการทำงานไม่จำเป็นว่าจะต้องเรียนในชั้นเรียนเพียงอย่างเดียว  สามารถสั่งงานโดยผ่านทางบล็อก  ส่งงานทางบล็อก  ได้ความรู้ในการทำบล็อกเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการสอนต่อไป  ได้เทคนิคใหม่ๆในการทำบล็อก   เมื่อเราทำงานส่งอาจารย์เสร็จหรือเรียนรายวิชานี้จบไปแล้วเราก็สามารถเข้าไปอ่านหรือดูงานที่ผ่านมาได้  ชอบเรียนวิชานี้เพราะในการทำงานส่งแต่ละครั้งสามารถแสดงความคิดเห็นของตนเองลงไปได้ ให้เวลาในการทำงานพอสมควร  สามารถทำงานส่งที่ไหนก็ได้ ไม่จำเป็นว่าจะต้องส่งในห้องเรียน และที่สำคัญอาจารย์ใจดี  เก่ง  ต่อไปน่าจะมีการเรียนการสอนโดยการใช้บล็อกต่อไป  ถ้าคะแนนเต็ม 10 ดิฉันให้เต็ม 10  และในรายวิชานี้อยากได้เกรด A คะ เพราะในการเรียนดิฉันตั้งใจเรียน  ทำงานด้วยตนเองไม่เคยลอกใคร  แต่ดิฉันเคยขาดเรียนโดยมีเหตุจำเป็น 2 ครั้ง โดยใจจริงแล้วไม่อยากขาดเรียนหรอกคะ และงานบางชิ้นอาจจะส่งไม่ทันเวลาเพราะไม่สะดวกในด้านสัญญาณอินเทอร์เน็ต  เพราะพักอยู่หอนอก  เรื่องเกรดในวิชานี้แล้วแต่อาจารย์จะพิจารณาคะ

ทดสอบปลายภาค
3.อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น
ครูและภาวะผู้นำ
     พูดถึงเรื่องภาวะผู้นำที่ดีนั้น  ควรทำให้ผู้อื่นเห็นถึงศักยภาพของเราอย่างแรกคือ การสร้างความศรัทธาในตัวเราให้เกิดขึ้นก่อน  ไม่ว่าจะเป็นบุคลิกภาพ  การพูดจา  การวางตัวในสังคม    ต่อมาคือการสร้างความไว้วางใจให้แก่ผู้อื่น  ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติหน้าที่การงานที่มีความรับผิดชอบ  การเป็นผู้นำที่ดีในองค์กรที่ตนทำงาน  การเป็นผู้ที่มีความเชื่อถือได้  เราจะต้องทำให้ผู้อื่นเห็นว่าเราสามารถนำให้ทีมไปสู่ความสำเร็จให้ได้  อย่างที่สามคือ สร้างแรงบันดาลใจ คือการเป็นแบบอย่างที่ดี  ที่ทำให้ผู้อื่นเห็นแล้วเกิดแรงบันดาลใจในการทำงาน  สุดท้ายคือการยอมรับในการเป็นปัจเจกบุคคล  การอยู่ร่วมกันในสังคมก็จะต้องมีความแตกต่างกันเป็นธรรมดา ดังนั้นเราจึงควรยอมรับในความแตกต่างของแต่ละบุคคล  ไม่ยึดถือความคิดตนเป็นหลัก  ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเพื่อหาข้อสรุปที่ดีที่สุด จะทำให้การทำงานออกมาดีเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม และจะประสบความสำเร็จในงานทำ
         ครูและภาวะผู้นำเกี่ยวข้องกันคือ ครูจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กนักเรียน  ปฏิบัติตนให้นักเรียนเกิดความ “ศรัทธาในตัวครู”  จะต้อง “สร้างความไว้วางใจ” เพื่อนักเรียนสามารถที่จะเข้ามาปรึกษาปัญหา  ซักถามข้อสงสัย  และกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่  ครูต้องเป็นแบบที่ดีเพื่อ “สร้างแรงบันดาลใจ” ให้นักเรียนนำแบบอย่างที่ดีนี้ไปปฏิบัติตน  ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย  การพูดจา  การทำงาน  การมีระเบียบวินัย  ฯลฯ  ครูจะต้อง “ยอมรับในความเป็นปัจเจกบุคคล”  ครูต้องยอมรับในความแตกต่างของเด็กแต่ละคน  พื้นฐานครอบครัวของเด็กและพยายามสนับสนุนในสิ่งที่เด็กถนัด  ไม่มองว่าเด็กคนนี้เก่ง  คนนี้โง่  คนนี้รวย  คนนี้จน  แต่ควรจะให้ความยุติธรรม  ไม่ควรสนใจเด็กคนใดคนหนึ่งเป็นพิเศษแต่ต้องให้ความสำคัญกับเด็กทุกๆคนให้เท่าๆกัน
          ครูที่มีภาวะผู้นำทางวิชาการควรจะต้อง เป็นผู้ที่ทันเหตุการณ์ ข่าวสาร อยู่ตลอดเวลา  เป็นผู้ที่ใฝ่รู้ใฝ่เรียนหาข้อมูล ความรู้ใหม่ๆอยู่ตลอด  มีข้อมูลเกี่ยวกับเด็กแต่ละคนที่ตนรับผิดชอบ  สนับสนุนให้เด็กกล้าที่จะแสดงออกซึ่งความเป็นผู้นำ  ให้เด็กได้ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  และท้าทายให้เด็กรู้จักคิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ  การทำในสิ่งที่ถูกต้อง  สนับสนุนในความถนัดของเด็กแต่ละคน    

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555


ทดสอบปลายภาค
2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร 
              ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง
http://xn--42cle0dg2bid7g0axd4b6k.net/

             อาเซียนหรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปีพ.ศ.2527 บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538  ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อ พ.ศ. 2542  ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ     
http://hilight.kapook.com/view/67028

             สำหรับการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนนั้น ประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง จึงได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาอาเซียน โดยจะมุ่งเน้นเรื่องการศึกษา ซึ่งจัดอยู่ในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ที่จะมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่น ๆ ให้มีความเข้มแข็ง เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน และจะมีการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาเซียนศึกษา เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ หลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสาร ระหว่างกันในประชาคมอาเซียน
http://news.muslimthaipost.com/content.php?page=sub&category=79&id=10073
       
วิเคราะห์ ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร
 
      การศึกษาเป็นตัวสำคัญในการพัฒนาประเทศเป็นอย่างยิ่ง  เราจึงให้ความสำคัญกับการศึกษาเป็นอย่างมาก  ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าประเทศของเราก็จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน  ดังนั้นจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ  สังคม  การเมือง  การศึกษา ตลอดจนการใช้ภาษาในการสื่อสาร  คนไทยยังด้อยในเรื่องการใช้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างมากจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมเรื่องการสื่อสารอีกมาก  มีการส่งเสริมให้แต่ละโรงเรียนเริ่มสอนวิชาอื่นๆเป็นภาษาอังกฤษ  การสอดแทรกภาษาอังกฤษในรูปแบบต่างๆเพื่อให้เกิดความเคยชินแก่ประชาชน  มีการเผยแพร่ให้ความรู้เรื่องสมาคมอาเซียนเพื่อให้ทุกคนพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่จะเข้ามา   จะเห็นได้ว่าภาษาเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการเข้าสู้ประชาคมอาเซียนเพราะการจัดตั้งประชาคมอาเซียนมีสมาชิกด้วยกันทั้งหมด 10 ประเทศ จึงต้องมีภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารเพื่อให้เข้าใจร่วมกัน  ต่อไปสมาชิกทั้ง 10 ประเทศก็จะมีการเปิดประเทศเพื่อให้มีการติดต่อซื้อขาย  แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม  ส่งเสริมความร่วมมือแต่ละประเทศเพื่อการพัฒนาไปด้วยกัน  ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นครู  นักเรียน  นักศึกษา  ตลอดจนประชาชนทั่วไปก็จะต้องเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในอนาคตที่จะตามมา  ในแต่ละประเทศก็ควรให้ความรู้แก่ประชาชนในประเทศในเรื่องประชาคมอาเซียนให้เกิดความเข้าใจ จะต้องมีแผนงานในการเตรียมความพร้อมของประเทศเพื่อให้เข้าสู้ประชาคมอาเซียนด้วยความภาคภูมิใจ และพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับสิ่งต่างๆที่จะเข้ามาด้วยความมั่นใจ
ทดสอบปลายภาค

      1.แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า "แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน     
         ในสังคมยุคปัจจุบันซึ่งเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ( Learning Society )  ในปัจจุบันนั้น สื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจะมีบทบาทสำคัญค่อนข้างมากต่อการนำมาใช้ในการพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพทางการเรียนในสังคมยุคใหม่ในปัจจุบันที่สื่อการศึกษาประเภท คอมพิวเตอร์ ( Computer )”จะมีอิทธิพลค่อนข้างสูงในศักยภาพการปรับใช้ดังกล่าว และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาไทยตามนโยบายการแจกแท็บเล็ตเพื่อเด็กนักเรียนในปัจจุบันโดยมุ่งเน้นให้กลุ่มนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามโครงการ One Tablet PC Per Child ซึ่งเป็นไปตามนโยบายรัฐบาลที่แถลงไว้นั้น เป็นการสร้างมิติใหม่ของการศึกษาไทยในการเข้าถึงการปรับใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ( นายวรวัจน์ เอื้ออภิญกุล ) ได้กล่าวไว้ว่าการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียนโดยเริ่มด าเนินการในโรงเรียนน าร่องส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ปีการศึกษา 2555  ควบคู่กับการพัฒนาเนื้อหาสาระที่เหมาะสมตามหลักสูตรบรรจุลงในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต รวมทั้งจัดระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายในระดับการใช้ การบริหารและในพื้นที่สาธารณะและสถานศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
   http://www.kan1.go.th/tablet-for-education.pdf                                                                                                                   
          รศ.ยืน ภู่วรวรรณ อดีตรองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ มก. กล่าวว่า แท็บเล็ตมีข้อได้เปรียบกว่าโน้ตบุ๊ก เพราะใช้งานได้สะดวก ไม่มีแป้นพิมพ์ น้ำหนักเบา กินไฟน้อยกว่า ใช้หน้าจอแบบสัมผัส มีความคล่องตัว เพราะใช้กับโปรแกรมหรือแอพพลิเคชั่นสำเร็จรูป แต่ป้อนข้อมูลได้ช้าถ้าจะใช้งานให้ดีต้องเชื่อมโยงกับเครือข่ายข้อมูลจากโลกอินเทอร์เน็ต อีกทั้งหน้าจอจะเสียหายได้ง่าย
          แท็บเล็ต เป็นเครื่องมือให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่ายและเร็วกว่าที่จะจดจำเอง รูปแบบการศึกษาที่ต้องเปลี่ยนจากการสอนเป็นการเรียนรู้และแสวงหาด้วยตนเอง เปลี่ยนจากเน้นเนื้อหาในกรอบหลักสูตรมาเป็นเน้นทักษะ ความคิดและกระบวนการ แม้ว่าหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้เริ่มให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้ แต่สถานศึกษาปรับตัวช้ามาก
          "การศึกษาในยุคใหม่ กระบวนการเรียนรู้มีความสำคัญมาก ครูมิใช่ผู้มอบความรู้ แต่เป็นผู้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ไปพร้อมกับผู้เรียน คนรุ่นใหม่ควรได้รับการพัฒนาให้เรียนรู้ได้เองตลอดชีวิต มีทักษะและกระบวนการอ่าน เขียนเป็นในยุคดิจิติล การใช้แท็บเล็ตต้องเน้นกระบวนการเรียนรู้ และใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีอื่นด้วย ไม่ใช่ใช้แท็บเล็ตแทนหนังสือหรือสื่อ"
               คุณลักษณะของแท็บเล็ตที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้นั้น สามารถสนองต่อความต้องการทางการเรียนรู้รายบุคคล สามารถติดตามช่วยเหลือให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ได้ เป็นสื่อที่ทำให้เกิดการสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างมีความหมาย ซึ่งการเรียนรู้บางครั้งต้องอาศัย "การจำลองสถานการณ์" หรือ "การทดลองเสมือนจริง" ต่างๆ เพื่อการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และช่วยแบ่งปันความรู้ประสบการณ์ผ่านช่องทางสื่อสารหรือเครือข่ายสังคมต่างๆ

            "การใช้แท็บเล็ตให้ได้ผลจึงขึ้นอยู่กับครู ที่จะออกแบบกระบวนการเรียนรู้ของเด็กผสมผสานกับกระบวนการต่างๆ ในโรงเรียน ซึ่งยากกว่าการบรรจุสื่อลงในแท็บเล็ต เด็กๆ ที่ใช้แท็บเล็ตตั้งแต่เล็กจะรับรู้และคุ้นเคยกับเทคโนโลยีและสร้างโลกส่วนตัว เริ่มรู้สึกว่ามีอิสรภาพทางความคิด สังคมและความรู้มีการเปลี่ยนแปลงเร็ว อุปกรณ์เครื่องมือที่เป็นวัตถุมีความสำคัญมากล้น แต่จิตวิญญาณอาจจางลง โลกจะกลับมาทำให้ผู้คนไม่สนใจคนข้างเคียง ไม่อยากพูดคุยกับคนที่อยู่ใกล้"
    http://www.chusak.net/index.php?mo=3&art=41993028                                                                
ด้านการเรียน
       การใช้แท็บเล็ต(Tablet) โดยให้ผู้เรียนและผู้สอนมีแท็บเล็ตพีซีเป็นของตนเองอย่างทั่วถึง เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการใช้อย่างมีประสิทธิผล โดยพบว่าการใช้แท็บเล็ตเป็นการสร้างแรงจูงใจของผู้เรียนและมีผลกระทบในทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อีกทั้งช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เข้าถึงองค์ความรู้นอกห้องเรียนอย่างกว้างขวาง
ด้านหลักสูตร
       สำหรับด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนนั้นพบว่า  การใช้แท็บเล็ตพีซีนั้นช่วยส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน  และส่งเสริมให้มีการพัฒนาหลักสูตรหรือการจัดการเรียนการสอนที่มีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นส่วนประกอบมากขึ้น  อย่างไรก็ตามการสร้างให้เกิดผลสำเร็จดังกล่าวนั้นต้องอาศัยปัจจัยสนับสนุนและการจัดการในด้านต่างๆจากผู้บริหารเช่นการสนับสนุนให้มีเครือข่ายสื่อสารแบบไร้สาย(Wireless Network)และเครื่องสายแบบไร้สาย (Wireless Data Projector) ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสามารถสร้างและใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการประกอบการเรียนการสอนในสถานศึกษาต่อไป         
            ดังนั้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีที่สุดสำหรับครูไทย คือ ต้องต้องแก้ไขข้อบกพร่องที่มีอยู่และจัดโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีอย่างเพียงพอ และพัฒนาบุคลากรในการใช้แท็บเล็ต  เพื่อให้ครูเกิดความคุ้นชิน และมีทักษะ ในการใช้แท็บเล็ตอย่างมีประสิทธิภาพ  อีกทั้งกระตุ้นให้ผู้เรียนและผู้สอนมีความกระตือรือร้นและมีเวลาเพียงพอที่จะได้ทดลองและสร้างนวัตกรรมการใช้งานแท็บเล็ต ของตนเอง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการจัดการเรียนการสอน  และก้าวไปสู่การศึกษาสากลเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ  มิใช่เป็นเพียงม่านบังตาที่ฝรั่งเห็นแล้วอมยิ้ม  เพราะการศึกษาของไทยยังต้องพัฒนาอีกมากเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว                                                                                                       
   http://www.gotoknow.org/blogs/posts/492166                                                                             

วิเคราะห์ แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา
           ปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญมากไม่ว่าจะเป็น ด้านการสื่อสาร  การติดต่อซื้อขายสินค้า ด้านการอำนวยความสะดวกต่างๆและเทคโนโลยียังเป็นมีบทบาทสำคัญในด้านการศึกษา  รัฐบาลจึงมีนโยบายในการนำเอาเทคโนโลยีตัวหนึ่งเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาด้านการศึกษาของไทยให้ก้าวทันโลกนั้นคือ แท็บเล็ต ซึ่งได้รับความนิยมกันแพร่หลายในปัจจุบัน  แท็บเล็ตช่วยในการศึกษาได้เป็นอย่างมากแต่ในทางกลับกันถ้าเด็กๆที่ใช้  ไม่รู้วิธีใช้ประโยชน์ที่เหมาะสมแล้วก็จะเป็นปัญหามากมายเช่นกัน  การนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้เป็นการดีแต่เด็กควรจะได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องจากพ่อแม่ ครู อาจารย์อย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้เด็กนำแท็บเล็บไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม  และควรจำกัดเวลาในการใช้เพื่อให้เด็กมีความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้างบ้างเพื่อเป็นการพัฒนาทั้งทางด้านสติปัญญา  ร่างกาย  จิตใจ และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข


วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555


กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน
ให้นักเรียนอ่านบทความแล้วดำเนินการดังนี้
1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
     การสอนแนะให้รู้คิดเป็นนวัตกรรมหนึ่งที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน เป็นการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เกี่ยวกับองค์ความรู้ ทักษะ ในการแก้ปัญหา
     ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่  ทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญานิยม  ซึ่งให้ความสำคัญกับผู้เรียนเป็นหลัก
หลักการและรูปแบบของการสอนแนะให้รู้คิด  จะต้องอยู่บนของพื้นฐานว่านักเรียนควรรู้อะไร  สามารถพัฒนาแนวคิดทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียนได้อย่างไร ต้องมีกิจกรรมในการเรียนคณิตศาสตร์
ขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้  มี
4 ขั้นได้แก่
1.ครูนำเสนอปัญหา
2.ครูช่วยแนะให้นักเรียนมีความเข้าใจในปัญหา
3.นักเรียนรายงานคำตอบและวิธีการแก้ปัญหา
4.ครูและนักเรียนช่วยกันอภิปรายคำตอบและวิธีการที่ใช้
บทบาทของผู้สอน และบรรยากาศในชั้นเรียน
       ครูควรใช้คำถามหรือชี้แนะให้นักเรียนขณะที่นักเรียนไม่สามารถแก้ปัญหาได้    ครูควรมีการกระตือรือร้นพัฒนาตนเองอยู่เสมอ  ควรเตรียมตัวในการสอน  ควรสร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนสนใจการเรียน  ควรนำเสนอปัญหาให้เหมาะสมกับผู้เรียน  ควรสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการในการเรียนรู้  ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่ม  ควรให้เวลาที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาของนักเรียน  ไม่ควรมีแนวทางที่ตายตัว
       สำหรับการประเมินผลของชั้นเรียน  ครูควรมีการประเมินความรู้  ความเข้าใจของนักเรียนบ่อยๆและใช้วิธีการที่หลากหลายในการประเมิน
ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็น  “ครูของแผ่นดิน”  พระองค์ท่านทรงคิดริเริ่มโครงการต่างๆเพื่อนำไปแก้ปัญหาต่างของประชาชนที่กำลังเผชิญและเป็นสิ่งที่ทำให้ประชาชนเป็นทุกข์อยู่ในขณะนั้น  พระองค์ทรง “ทำให้ดู” ชี้แนะเพื่อให้ประชาชนมีแนวทางในการแก้ปัญหาและการดำเนินชีวิต  พระองค์ทรงให้ความสำคัญกับการศึกษามาก  การศึกษาที่จะได้ผลดีที่สุด ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสถานศึกษาที่มีชื่อเสียง หรือเด็กจะต้องเก่งที่สุด  แต่ขึ้นอยู่กับว่าเมื่อเราได้ศึกษาอะไรไปแล้วเราจะนำมาพัฒนาประเทศได้อย่างไร  การศึกษาที่ได้ผลที่ดีจะต้องได้จากการศึกษาจากสถานที่จริง  ปัญหาจริง   

2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
        ถ้าข้าพเจ้าเป็นครูผู้สอนข้าพเจ้าจะนำเอาแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิตและการสอนนักเรียน  โดยเน้นที่ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้นำความรู้ไปพัฒนาตนและพัฒนาประเทศต่อไป เริ่มจากการทำให้นักเรียนดูเป็นแบบอย่าง  มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดความสุขในการเรียน และจัดกิจกรรมเพื่อเป็นการพัฒนาทักษะด้าน ความรู้  ทักษะกระบวนการ และสอนให้เป็นคนมีคุณธรรม จริยธรรม

3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร
ตัวอย่างการสอนเรื่องการตวง

         ขั้นแรก ครูตั้งปัญหากับนักเรียนว่า  ในชีวิตประจำวันของเรานักเรียนรู้จักเครื่องตวงใดบ้างเมื่อนักเรียนช่วยกันตอบแล้วต่อมาก็นำเข้าสู่เนื้อหาที่จะเรียน โดยการอธิบายและยกตัวอย่างประกอบในชีวิตประจำวันเพื่อง่ายต่อการเข้าใจของนักเรียน ครูนำตัวอย่างเครื่องตวงที่เตรียมไว้มาให้นักเรียนได้ทดลองตวงจากของจริงเพื่อทำให้นักเรียนเพลิดเพลินกับการเรียนการสอน (การเรียนรู้จากประสบการณ์)  จากนั้นครูก็ให้เด็กทำแบบทดสอบที่เตรียมไว้เพื่อทดสอบความเข้าใจอีกครั้ง  สุดท้ายครูจะสอนร้องเพลงเกี่ยวกับการตวงเพื่อให้นักเรียนมีเทคนิคในการจำหน่วยของการตวงได้ง่ายขึ้นและทำให้นักเรียนสนุกกับการเรียนไปด้วย  เป็นการสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนรู้

วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 7

สอนเรื่อง จำนวนจริง
ผู้สอน คุณครูมาลิณี  ชมภูวิเศษ
สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
เนื้อหาที่ใช้สอน  การบวก  การลบ  การคูณ  การหาร  การใช้สัญลักษณ์ต่างๆทางคณิตศาสตร์
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในระดับประถม 
ที่มีการใช้สื่อการเรียนการสอนประกอบที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม เรียนรู้จากจำนวนจริงและครูนำเข้าสู่ระบบสัญลักษณ์
พัฒนาและประยุกต์มาจากวัสดุเหลือใช้ เช่นลังตู้เย็น เพื่อเสริมเพิ่มเติมพื้นฐานและฝึกทักษะให้กับเด็กนักเรียน โดยทำให้บรรยากาศการเรียนรู้มีความน่าสนใจ น่าติดตามและสนุกสนานจากการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรมและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน สามารถดึงดูดใจผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
บรรยากาศการจัดห้องเรียน  การนำเอาวัสดุเหลือใช้ต่างมาประดิษฐ์เป็นสื่อการสอนที่น่าสนใจใช้สีสันในการดึงดูดความสนใจของนักเรียน  สร้างบรรยากาศที่น่าสนใจในการเรียนให้แก่เด็กๆ

กิจกรรมที่ 6
                                             ความรัก อากาเป้
"ความรัก อากาเป้"
Agape แปลง่ายที่สุดคือ รักของพระเจ้า
ถ้าจะให้ความหมายแค่นั้นมันง่ายเกินไป ดังนั้นจึงขอให้มาศึกษา คำว่ารัก
ที่เราใช้กันมากขึ้นทุกวันดังนี้  อากาเป้,อากาปัน ( Agape and Agapan )
คำที่กล่าวนี้เป็นภาษากรีก เป็นภาษาที่ร่ำรวยที่สุดภาษาหนึ่งในโลก
ดังนั้นจะเห็นบ่อยๆว่าความคิดเรื่องหนึ่งๆภาษากรีกคำอธิบายความหมายในแง่มุมต่างๆ

เช่นคำว่า"รัก"ทั้งไทยและอังกฤษจะใช้คำเดียวกันแล้วเข้าใจถึงความรักทุกชนิด
แต่ภาษากรีก มีอย่างน้อย
4 คำ คือ



1.เอโรส

คำนาม (เอราน-คำกริยา) ใช้หมายถึงความรักระหว่างเพศ หรืออาจจะใช้
หมายถึงความกระหายทะเยอทะยาน และเรื่องความรักชาติอย่างรุนแรงก็ได้

2.สเตอร์เก

คำนาม (สเตอร์เกน-คำกริยา) มีความหมายรักผูกพันฉันญาติ
แต่ใช้ได้กับประชาชนที่มีความรักต่อผู้ปกครองหรือความรักของชนชาติ
แต่ทั่วๆไปก็ใช้ถึงความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูกๆ และลูกๆต่อพ่อแม่
3.ฟิเลีย
คำนาม (ฟิเลน-คำกริยา) มีความรักที่อบอุ่นอยู่ในคำนี้ หรือแปลว่า
มองด้วยความรักใคร่ผูกพัน ใช้ได้ทั้งความรักระหว่างเพื่อนและ
ความรักของสามีภรรยา
"ฟิเลน"แปลได้ตรงคือรักใคร่อย่าง
ทะนุถนอมรักอย่างดูแลเอาใจใส่ "ฟิเลีย" รักใคร่ฝ่ายเนื้อหนัง
หรือบางครั้งแปลว่าจุมพิตก็ได้

4.อากาเป้

คำนาม (อากาปัน-คำกริยา) คำนี้ใช้มากในพระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่
ของคริสเตียน ความรักอากาเป้ หรืออากาปัน คือความรักของคริสเตียน
ที่ต้องปฏิบัติในชีวิตทั้งความคิดและการกระทำ เป็นความรักไม่จำกัด
ขอบเขตเฉพาะญาติมิตรหรือคนที่ใกล้ชิดเท่านั้น แต่ความรักนี้

ต้องแผ่ขยายออกไปจากกลุ่มของตนเอง ออกไปสู่เพื่อนบ้าน
ไปสู่คนทั้งโลก และแม้กระทั่งศัตรู ความรักอากาเป้ เกี่ยวข้องกับความคิด
ความตั้งใจ ไม่ใช่อารมณ์
  ความรักอากาเป้เกิดขึ้นได้ต่อเมื่อบุคคลนั้นได้รับ
ความรักของพระเจ้าโดยพระเยซูคริสต์ครอบครองจิตใจแล้วโดยพระวิญญาณ
บริสุทธิ์ของพระองค์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงภายในจิตใจผู้เชื่อที่จะสามารถมี
ความรักที่ไม่มีเงื่อนไขเช่นนี้ได้ เพราะเป็นความรักที่บริสุทธิ์ เป็นความรักที่
ต้องอดทน เป็นความรักที่มีแต่การให้และให้อภัยเสมอ เพราะความรักอากาเป้
ที่พระเยซูทรงสำแดงแก่มนุษย์รักมนุษย์ทั้งๆที่เป็นคนบาปดื้อด้านต่อต้าน ฯลฯ
แต่พระองค์ทรงยอมวายพระชนม์เพื่อเขาทั้งหลาย
กิจกรรมที่ 5

ครูที่ฉันชอบประวัติ
 ชื่อ นางกรรณิการ์ นามสกุล คล้ายคลึง
 เกิดวันที่ 15 เดือน กันยายน พ.ศ. 2503 อายุ 49 ปี
 วุฒิการศึกษาสูงสุด ครุศาสตร์บัณฑิต (คบ.) สถาบันการศึกษา วิทยาลัยครูสุรินทร์
 รับราชการครั้งแรก เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2526
 ตำแหน่งปัจจุบัน ครูชำนาญการพิเศษ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและ   วัฒนธรรม    ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
     สถานศึกษาที่ทำงานปัจจุบัน โรงเรียนบ้านกาเกาะระโยง ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมืองสุรินทร์
จังหวัดสุรินทร์  รหัสไปรษณีย์
32000 โทร (บ้าน) 0-4455-8279 (มือถือ) 087-8699859
    ได้ไปบรรจุครั้งแรกที่โรงเรียนบ้านตาโม อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งอยู่ติดชายแดนประเทศกัมพูชา เมื่อปี พ.ศ. 2526 มีเหตุการณ์สงครามชายแดนไทยกัมพูชา ทุกคนอยู่ที่นั่นต้องเตรียมพร้อมตลอดเวลา แต่ข้าพเจ้าไม่ได้นึกหวาดกลัวแต่อย่างใด ดีใจที่ได้เป็นครูได้สอนนักเรียนตามชนบทเพราะพวกเขาน่าสงสารมาก มีความประทับใจนักเรียน ที่นั่นมาก อยาก สอนนักเรียนให้อ่านออกเขียนได้ สอนหลักการใช้ชีวิตในสังคม แต่ก็ต้องย้ายมาบ้านเพราะไม่มีใครดูแลมารดาซึ่งอยู่คนเดียว ปัจจุบันก็ทำการสอนอยู่ในโรงเรียนชนบท มีความสุขมาก ภูมิใจในอาชีพครูมาก รักอาชีพครู รักโรงเรียนเหมือนบ้าน รักลูกศิษย์เหมือนลูกหลาน รักเพื่อนร่วมงานเหมือนญาติสนิท

ตัวอย่างผลงานดีเด่น
1. ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียนสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
2. กิจกรรมออมทรัพย์ของนักเรียนได้รับรางวัลจากผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์และครูได้รับเกียรติบัตรในฐานะครูผู้ส่ง เสริมและรณรงค์ให้นักเรียนรู้จักออมเงิน
3. ฝึกสอนนักเรียนทำอาหารแปรรูปได้รับรางวัลเหรียญทองระดับพื้นที่การศึกษาสุรินทร์เขต 1
4. เขียนโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ได้รับอนุมัติจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลให้เงินมา 40,000 บาทเพื่อจัดกิจกรรม
5. ได้รับคัดเลือกเป็นครูผู้สอนดีเด่นในกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต
6. ได้รับรางวัลครูผู้ผลิตสื่อการเรียนการสอนดีเด่นของคุรุสภาอำเภอกาบเชิง
7. ได้รับยกย่องเป็นบุคลากรต้นแบบการปฏิรูปการเรียนรู้จากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
8. ได้รับยกย่องเป็นแม่ดีเด่นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จากกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข
9. ได้รับรางวัลผู้มีผลงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ในงานสร้างสรรค์การเรียนรู้ จากคุรุสภาอำเภอกาบเชิง
10. ได้รับยกย่องเป็นคณะกรรมการดำเนินงานและจัดกิจกรรมโรงเรียนและชุมชน
จากสำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลท่าสว่าง
11. เป็นที่ไว้วางใจของผู้ปกครองนักเรียนในการจัดการเรียนการสอน


ประยุกต์สิ่งที่ดีของครูมาใช้ในการพัฒนาตนเอง
     
นำมาเป็นแบบอย่างในการประกอบอาชีพและใช้ชีวิตประจำวัน คือ การเป็นผู้ที่มีจิตวิญญาณของครูสูง    เป็นผู้ที่เสียสละส่วนตนเพื่อส่วนรวม  เป็นผู้ที่กตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา  เป็นผุ้ที่ทุ่มเทกับการสอนเป็นอย่างมากไม่สนใจว่าตนเองจะเป็นอันตรายแต่จะตั้งใจทำงานแม้สถานที่นั้นจะอันตรายขนาดไหนก็ตาม 

วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


กิจกรรมที่ 4
ทักษะในการทำงานเป็นทีม
ความสำคัญของทีม
             การทำงานเป็นทีม  จะเป็นการพัฒนาองค์กรให้ประสบผลสำเร็จ  แต่การทำงานเป็นทีมจะต้องใช้เวลาในการพัฒนาบุคคลพอสมควร

ลักษณะการทำงานร่วมกัน
1.ทำงานแบบเอาบุคคลมารวมกัน
2.ทำงานร่วมกันแบบเป็นคณะหรือเป็นทีม
       ทีม คือ กลุ่มบุคคลที่ทำงานร่วมกัน เพื่อวัตถุประสงค์เดียวกัน

แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันของบุคคล

1.การยอมรับความแตกต่างของบุคคล
2.แรงจูงใจของมนุษย์
3.ธรรมชาติมนุษย์

องค์ประกอบการทำงานเป็นทีม

1.วัตถุประสงค์และเป้าหมาย                                 2.กิจกรรม
3.วิธีทำงาน                                                               4.หน้าที่และบทบาท
5.กฎระเบียบ                                                            6.ผู้นำ
7.ความเข้าใจซึ่งกันและกัน                                   8.การติดต่อสื่อสาร
9.การสร้างความร่วมมือ                                         10.การแก้ปัญหาข้อขัดแย้ง

ทีมงานที่มีประสิทธิภาพ

สมาชิกทุกคน
1.เข้าใจวัตถุประสงค์และเป้าหมายชัดเจน
2.เปิดเผยจริงใจและร่วมมือกันแก้ปัญหา
3.สนับสนุน  ไว้วางใจ  ยอมรับและรับฟัง
4.ร่วมมือกัน  ใช้ความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
5.ทบทวนการปฏิบัติงาน  และตื่นตัวตลอดเวลา
6.มีการพัฒนาตนเอง
7.รู้จักตนเองและรู้จักผู้อื่น 

ขั้นตอนการทำงานเป็นทีม

1.วิเคราะห์                                                     2.กำหนดเป้าหมายร่วมกัน
3.วางแผนการทำงาน                                   4.กำหนดกิจกรรม
5.แบ่งงานให้สมาชิกของทีม                      6.ปฏิบัติจริงตามแผน
7.ติดตามผลและดำเนินงาน                        8.ประเมินขั้นสุดท้าย

อุปสรรคการทำงานเป็นทีม
1.ขาดการตกลงกันตั้งแต่เริ่มต้น
2.มีการปกปิดข้อมูลผิดพลาดที่ผ่านมา
3.ไม่ได้ใช้วิธีการประชุมหารือ
4.ขาดการวางแผนงานและเวลา
5.ไม่มีการแบ่งความรับผิดชอบ
6.ขาดการประเมินผลการทำงานของทีม

แนวทางการลดปัญหาในการทำงานเป็นทีม
1.สร้างบรรยากาศที่ดี
2.มอบหมายงานชัดเจน
3.ยอมรับในความแตกต่างของสมาชิก
4.ใช้ประสบการที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด
5.ทุกคนร่วมมือกันกำหนดเป้าหมาย
6.กำหนดผู้ทำงานให้เหมาะสม
7.ให้ทุกคนมีวินัยในการทำงาน
8.กำหนดกิจกรรมและวิธีการปฏิบัติ
9.กำหนดสถานที่  วิธีการ  เวลา  และวัตถุประสงค์
10.กำหนดทรัพยากรที่ใช้
11.มีวิธีการประสานกิจกรรมต่างๆ

ทีมงานสร้างผลสัมฤทธิ์
1.เป็นหนึ่งเดียวกัน
2.ประชุมสม่ำเสมอ
3.สื่อสารทั่วถึง
4.นำเสนอเป็นระยะ
5.พบปัญหา  ทบทวนใหม่
6.ประเมินตรวจสอบเป็นระยะ
7.ตรวจสอบความรู้สึก  สร้างบรรยากาศร่วมกัน





วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555


กิจกรรมที่ 3

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

แนวคิดดั้งเดิม
        เป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิต ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในโรงเรียน  มีผู้เชี่ยวชาญในการถ่ายทอดความรู้  ต้องการมีหลักสูตรในการกำหนดรายละเอียดเนื้อหาทั้งหมด  มนุษย์ไม่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง  การเรียนรู้ได้ดีคือการจดจำความรู้ได้มาก โรงเรียนต้องกล่อมเกลามนุษย์ให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคม

แนวคิดแห่งอนาคต
          การเรียนรู้คือชีวิต  เกิดขึ้นได้ทุกที่  สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง  โรงเรียนต้องมีหลักสูตรหลากหลายเพื่อให้สอดคล้องกับแต่ละบุคคล  สามารถเรียนรู้และตัดสินใจได้ด้วยตนเองทุกคนควรได้รับการยอมรับในความสามารถของตน  และทุกคนได้รับการกล่อมเกลาให้ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆในสังคมที่อาศัยอยู่

แนวทางการจัดการรียนรู้
         ผู้สอนจะต้องใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย  ผู้เรียนกำหนดองค์ความรู้ด้วยตนเอง รู้จักการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เข้ากับสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม  โรงเรียนต้องใช้วิธีสอนที่หลากหลาย  และกฎเหล็กของการศึกษา ควรมีการจัดการเรียนรู้ที่นอกเหนือจากที่โรงเรียน

ระบบการเรียนรู้
           ผู้เรียนเป็นผู้จัดการเรียนเอง  ใช้ระบบเครือข่าย  มีโอกาสเลือกเรียนได้หลากหลาย  มีแผนการเรียนรู้รายบุคคล  คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น  ระบบการประเมินจะหลากหลายขึ้น


คุณลักษณะของครูในยุคศตวรรษที่ 21
1.มีประสบการณ์เรียนรู้แบบใหม่
2.มีลักษณะการค้นหาความรู้ได้ตลอดเวลา
3.การขยายผลความรู้สู่นักเรียน ประชาชนทั่วไปและชุมชน
4.สามารถเลือกเนื้อหาที่ทันสมัย
5.เป็นนักประเมินที่ดี
6.เป็นผู้ใช้ปลายทางที่ดี
7.สามาใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนได้
8.ครูร่วมมือกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
9.ครูที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล


นวัตกรรมเทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
          นวัตกรรม คือ ความคิด การปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากเดิม  ให้ทันสมัยและได้ผลดียิ่งขึ้น

สาเหตุการเกิดนวัตกรรมทางการศึกษา
          การเพิ่มปริมาณผู้เรียน  การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี  ผู้เรียนมีการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น  ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี


ระยะเวลาของนวัตกรรม
ระยะที่
1 มีการประดิษฐ์คิดค้น
ระยะที่
2 พัฒนาการ
ระยะที่
3 นำไปปฏิบัติ


รูปแบบการพัฒนานวัตกรรม
1.การวิจัยและพัฒนา
2.การก๊อบปี้และพัฒนา


ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.ความเร็วในการประมวลผล
2.ความถูกต้องในการประมวลผล
3.การเก็บบันทึกข้อมูล
4.การเผยแพร่ข้อมูล



กิจกรรรมที่ 2
ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ได้แก่
1.ความต้องการทางกายภาพ
2.ความต้องการความปลอดภัย
3. ความต้องการทางสังคม
4.ความต้องการยกย่องชื่อเสียง
5.ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต


มาสโลว์ตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับความต้องการมนุษย์ไว้ดังนี้
1. มนุษย์มีความต้องการอยู่เสมอ
2. ความต้องการที่ได้รับการตอบสนองแล้วจะไม่เป็นสิ่งจูงใจของพฤติกรรมนั้น ๆ อีกต่อไป
3. ความต้องการของมนุษย์จะเรียงกันเป็นลำดับขั้น ตามความสำคัญ


การบริหารนั้นเป็นเรื่องของทักษะ และเขาสนใจที่จะศึกษาองค์การโดยรวมและมุ่งเน้นที่กิจกรรมการจัดการ (Managerial activities) ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรม 5 อย่างคือ
1. การวางแผน(Planning)
2. การจัดองค์การ(Organizing)
3. การบังคับบัญชา หรือการสั่งการ (Commanding)
4. การประสานงาน (Coordinating)
5. การควบคุม (Controlling)

           ทฤษฎี X(Theory X) เป็นปรัชญาการบริการจัดการแบบดั้งเดิม โดยมองว่าพนักงานเกียจคร้าน ไม่      กระตือรือร้น ไม่ชอบงานและพยายามหลีกเลี่ยงงาน
           ทฤษฎี Y(Theory Y) เป็นปรัชญาการบริการจัดการ โดยมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาในการทำงานและไม่มีความเบื่อหน่ายในการทำงาน
           ทฤษฎี Z บางตำราอาจจะเรียกว่ากลุ่มทฤษฎีร่วมสมัย เป็นทฤษฎีที่มองเห็นว่าการจูงใจคนนั้นต้องเป็นไปตามสถานการณ์ แต่ทฤษฎีร่วมสมัยบางอย่างที่เกิดขึ้นมาใหม่ก็ยังไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นทฤษฎี แต่อยู่ระหว่างการศึกษาทดลองเพื่อปรับให้เป็นทฤษฎี

ทฤษฎี A คือ Amarican Theory เป็นทฤษฎีว่าด้วยการบริหารจัดการร่วมสมัยตามแบบของอเมริกา ซึ่งให้หลักการว่า การบริหารจัดการแบบนี้ ต้องอาศัยการจัดการจากพื้นฐานของบุคคล ของผู้บริหารที่เกิดขึ้นในอดีต
ทฤษฎี J คือ การบริหารจัดการแบบญี่ปุ่น ซึ่งมีลักษณะที่เรียกว่า
1. การจ้างงานตลอดชีวิต หรือ Lifetime Employment มีการเลื่อนตำแหน่ง มีความผูกพันกัน เพราะฉะนั้นการเลี้ยงคนแบบญี่ปุ่นจะส่งเสริมให้มีการฝึกงานอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ผลเสียคือ ต้องเลี้ยงคนที่มีประสิทธิภาพการทำงานต่ำไว้ในหน่วยงานจนตลอดชีวิตด้วยเช่นกัน ก่อให้เกิดผลเสียต่อองค์การ
2.ต้องมี Concential Decision Making คือ การตัดสินที่ต้องได้รับการยอมรับจากที่ประชุม ซึ่งเป็นผลดี แต่ผลเสีย คือ อาจเกิดความล่าช้า


หลักการจัดการ 14 ประการ
1. การจัดแบ่งงาน
2. การมีอำนาจหน้าที่
3. ความมีวินัย
4. เอกภาพของสายบังคับบัญชา
5. เอกภาพในทิศทาง
6. ผลประโยชน์ของหมู่คณะจะต้องเหนือผลประโยชน์ส่วนตน
7. มีระบบค่าตอบแทนที่ยุติธรรม
8. ระบบการรวมศูนย์
9. สายบังคับบัญชา
10. ความเป็นระบบระเบียบ
11. ความเท่าเทียมกัน
12. ความมั่นคง และสามัญฐานะของบุคลากร
13. การริเริ่มสร้างสรรค์
14. วิญญาณแห่งหมู่คณะ

แนวคิดการจัดองค์กรของเว็บเบอร์มี 6 ประการมีดังนี้ คือ
1. องค์การต้องมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ เพื่อให้แต่ละส่วนงานได้มีโอกาสทำงานในส่วนที่ง่ายพอ และมีการกำหนดงานนั้นๆให้ชัดเจนและไม่สับสน
2. องค์การนั้นต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับชั้น
3. ระบบการคัดเลือกคนนั้นต้องกระทำอย่างเป็นทางการ
4. องค์การต้องมีระเบียบ และกฏเกณฑ์
5. ความไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
6. การแยกระบบการทำงานออกเป็นสายอาชีพ

ทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจโดยเฟรเดอริค เฮิร์ซเบอร์ก (Frederick Herzberg)
           เฮิร์ซเบอร์กได้ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับแรงจูงใจของคน เขาได้ศึกษาโดยการสัมภาษณ์พนักงานในเรื่องของความพึงพอใจจากการทำงาน และทำให้เขาได้ผลสรุปว่าแรงจูงใจของมนุษย์จะประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ
1. ปัจจัยภายนอกหรือเรียกว่า Hygiene Factors
2. ปัจจัยภายใน หรือ Motivation Factors