วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555


กิจกรรมที่ 3

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

แนวคิดดั้งเดิม
        เป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิต ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในโรงเรียน  มีผู้เชี่ยวชาญในการถ่ายทอดความรู้  ต้องการมีหลักสูตรในการกำหนดรายละเอียดเนื้อหาทั้งหมด  มนุษย์ไม่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง  การเรียนรู้ได้ดีคือการจดจำความรู้ได้มาก โรงเรียนต้องกล่อมเกลามนุษย์ให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคม

แนวคิดแห่งอนาคต
          การเรียนรู้คือชีวิต  เกิดขึ้นได้ทุกที่  สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง  โรงเรียนต้องมีหลักสูตรหลากหลายเพื่อให้สอดคล้องกับแต่ละบุคคล  สามารถเรียนรู้และตัดสินใจได้ด้วยตนเองทุกคนควรได้รับการยอมรับในความสามารถของตน  และทุกคนได้รับการกล่อมเกลาให้ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆในสังคมที่อาศัยอยู่

แนวทางการจัดการรียนรู้
         ผู้สอนจะต้องใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย  ผู้เรียนกำหนดองค์ความรู้ด้วยตนเอง รู้จักการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เข้ากับสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม  โรงเรียนต้องใช้วิธีสอนที่หลากหลาย  และกฎเหล็กของการศึกษา ควรมีการจัดการเรียนรู้ที่นอกเหนือจากที่โรงเรียน

ระบบการเรียนรู้
           ผู้เรียนเป็นผู้จัดการเรียนเอง  ใช้ระบบเครือข่าย  มีโอกาสเลือกเรียนได้หลากหลาย  มีแผนการเรียนรู้รายบุคคล  คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น  ระบบการประเมินจะหลากหลายขึ้น


คุณลักษณะของครูในยุคศตวรรษที่ 21
1.มีประสบการณ์เรียนรู้แบบใหม่
2.มีลักษณะการค้นหาความรู้ได้ตลอดเวลา
3.การขยายผลความรู้สู่นักเรียน ประชาชนทั่วไปและชุมชน
4.สามารถเลือกเนื้อหาที่ทันสมัย
5.เป็นนักประเมินที่ดี
6.เป็นผู้ใช้ปลายทางที่ดี
7.สามาใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนได้
8.ครูร่วมมือกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
9.ครูที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล


นวัตกรรมเทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
          นวัตกรรม คือ ความคิด การปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากเดิม  ให้ทันสมัยและได้ผลดียิ่งขึ้น

สาเหตุการเกิดนวัตกรรมทางการศึกษา
          การเพิ่มปริมาณผู้เรียน  การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี  ผู้เรียนมีการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น  ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี


ระยะเวลาของนวัตกรรม
ระยะที่
1 มีการประดิษฐ์คิดค้น
ระยะที่
2 พัฒนาการ
ระยะที่
3 นำไปปฏิบัติ


รูปแบบการพัฒนานวัตกรรม
1.การวิจัยและพัฒนา
2.การก๊อบปี้และพัฒนา


ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.ความเร็วในการประมวลผล
2.ความถูกต้องในการประมวลผล
3.การเก็บบันทึกข้อมูล
4.การเผยแพร่ข้อมูล



กิจกรรรมที่ 2
ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ได้แก่
1.ความต้องการทางกายภาพ
2.ความต้องการความปลอดภัย
3. ความต้องการทางสังคม
4.ความต้องการยกย่องชื่อเสียง
5.ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต


มาสโลว์ตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับความต้องการมนุษย์ไว้ดังนี้
1. มนุษย์มีความต้องการอยู่เสมอ
2. ความต้องการที่ได้รับการตอบสนองแล้วจะไม่เป็นสิ่งจูงใจของพฤติกรรมนั้น ๆ อีกต่อไป
3. ความต้องการของมนุษย์จะเรียงกันเป็นลำดับขั้น ตามความสำคัญ


การบริหารนั้นเป็นเรื่องของทักษะ และเขาสนใจที่จะศึกษาองค์การโดยรวมและมุ่งเน้นที่กิจกรรมการจัดการ (Managerial activities) ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรม 5 อย่างคือ
1. การวางแผน(Planning)
2. การจัดองค์การ(Organizing)
3. การบังคับบัญชา หรือการสั่งการ (Commanding)
4. การประสานงาน (Coordinating)
5. การควบคุม (Controlling)

           ทฤษฎี X(Theory X) เป็นปรัชญาการบริการจัดการแบบดั้งเดิม โดยมองว่าพนักงานเกียจคร้าน ไม่      กระตือรือร้น ไม่ชอบงานและพยายามหลีกเลี่ยงงาน
           ทฤษฎี Y(Theory Y) เป็นปรัชญาการบริการจัดการ โดยมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาในการทำงานและไม่มีความเบื่อหน่ายในการทำงาน
           ทฤษฎี Z บางตำราอาจจะเรียกว่ากลุ่มทฤษฎีร่วมสมัย เป็นทฤษฎีที่มองเห็นว่าการจูงใจคนนั้นต้องเป็นไปตามสถานการณ์ แต่ทฤษฎีร่วมสมัยบางอย่างที่เกิดขึ้นมาใหม่ก็ยังไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นทฤษฎี แต่อยู่ระหว่างการศึกษาทดลองเพื่อปรับให้เป็นทฤษฎี

ทฤษฎี A คือ Amarican Theory เป็นทฤษฎีว่าด้วยการบริหารจัดการร่วมสมัยตามแบบของอเมริกา ซึ่งให้หลักการว่า การบริหารจัดการแบบนี้ ต้องอาศัยการจัดการจากพื้นฐานของบุคคล ของผู้บริหารที่เกิดขึ้นในอดีต
ทฤษฎี J คือ การบริหารจัดการแบบญี่ปุ่น ซึ่งมีลักษณะที่เรียกว่า
1. การจ้างงานตลอดชีวิต หรือ Lifetime Employment มีการเลื่อนตำแหน่ง มีความผูกพันกัน เพราะฉะนั้นการเลี้ยงคนแบบญี่ปุ่นจะส่งเสริมให้มีการฝึกงานอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ผลเสียคือ ต้องเลี้ยงคนที่มีประสิทธิภาพการทำงานต่ำไว้ในหน่วยงานจนตลอดชีวิตด้วยเช่นกัน ก่อให้เกิดผลเสียต่อองค์การ
2.ต้องมี Concential Decision Making คือ การตัดสินที่ต้องได้รับการยอมรับจากที่ประชุม ซึ่งเป็นผลดี แต่ผลเสีย คือ อาจเกิดความล่าช้า


หลักการจัดการ 14 ประการ
1. การจัดแบ่งงาน
2. การมีอำนาจหน้าที่
3. ความมีวินัย
4. เอกภาพของสายบังคับบัญชา
5. เอกภาพในทิศทาง
6. ผลประโยชน์ของหมู่คณะจะต้องเหนือผลประโยชน์ส่วนตน
7. มีระบบค่าตอบแทนที่ยุติธรรม
8. ระบบการรวมศูนย์
9. สายบังคับบัญชา
10. ความเป็นระบบระเบียบ
11. ความเท่าเทียมกัน
12. ความมั่นคง และสามัญฐานะของบุคลากร
13. การริเริ่มสร้างสรรค์
14. วิญญาณแห่งหมู่คณะ

แนวคิดการจัดองค์กรของเว็บเบอร์มี 6 ประการมีดังนี้ คือ
1. องค์การต้องมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ เพื่อให้แต่ละส่วนงานได้มีโอกาสทำงานในส่วนที่ง่ายพอ และมีการกำหนดงานนั้นๆให้ชัดเจนและไม่สับสน
2. องค์การนั้นต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับชั้น
3. ระบบการคัดเลือกคนนั้นต้องกระทำอย่างเป็นทางการ
4. องค์การต้องมีระเบียบ และกฏเกณฑ์
5. ความไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
6. การแยกระบบการทำงานออกเป็นสายอาชีพ

ทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจโดยเฟรเดอริค เฮิร์ซเบอร์ก (Frederick Herzberg)
           เฮิร์ซเบอร์กได้ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับแรงจูงใจของคน เขาได้ศึกษาโดยการสัมภาษณ์พนักงานในเรื่องของความพึงพอใจจากการทำงาน และทำให้เขาได้ผลสรุปว่าแรงจูงใจของมนุษย์จะประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ
1. ปัจจัยภายนอกหรือเรียกว่า Hygiene Factors
2. ปัจจัยภายใน หรือ Motivation Factors

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 1
ความหมายของคำว่า การบริหาร  การศึกษา และการบริหารการศึกษา
      การบริหาร คือ การดำเนินงานของกลุ่มคน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
      การศึกษา คือ การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
      การบริหารการศึกษา คือ การดำเนินงานของกลุ่มคน เพื่อการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา

1.ความแตกต่างระหว่างการบริหารการศึกษากับการบริหารอื่นๆ
         การบริหารการศึกษาจะมุ่งเพื่อพัฒนาคุณภาพของคนโดยไม่หวังผลกำไรอจะมีผู้บริหาร คือบุคคลที่มีคุณภาพเป็นตัวอย่างแก่ผู้รับบริการได้  ส่วนมากผู้รับบริการจะเน้นผู้เยาว์ เด็กที่ต้องการรับการพัฒนาคุณภาพ  วิธีการในการดำเนินงานจะมีการพัฒนาคนให้มีคุณภาพที่หลากหลาย  ผลที่ได้จากการบริหารการศึกษาจะเป็นนามธรรม ซึ่งมองเห็นได้ยาก
         ส่วนการบริหารอื่นๆ จะมุ่งเพื่อให้คนอยู่ดีกินดี เป็นการบริหารเพื่อหวังผลกำไร ส่วนใหญ่ผู้รับบริการจะเป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะ  ซึ่งผลที่ได้จะเป็นรูปธรรม สามารถมองเห็นได้ง่าย

2.ภารกิจในการบริหารการศึกษา  หรืองานบริหารการศึกษา โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 5 ประเภทดังนี้
          2.1การบริหารงานวิชาการ  เป็นการดำเนินงานเกี่ยวกับ การเรียนการสอน ซึ่งครอบคลุมเกี่ยวกับการนำหลักสูตรไปใช้ การทำแผนการสอน การปรับปรุงการเรีนการสอน การใช้สื่อการสอน การประเมินผลการวัดผลและการนิเทศการสอน
          2.2การบริหารงานธุรกิจ  เป็นการดำเนินงานเกี่ยวกับงานการเงิน วัสดุครุภัณฑ์ อาหารสถานที่ งานสารบรรณ งานรักษาพยาบาล และงานบริการต่างๆ
          2.3การบริหารงานบุคคล เป็นการดำเนินงานเกี่ยวกับบุคคล เริ่มตั้งแต่การสรรหาบุคคลมาทำงานหรือมาเป็นครู  การจัดบุคคลเข้าทำงาน  การบำรุงรักษาและการสร้างเสริมกำลังใจในการทำงาน  การพัฒนาบุคคล  และการจัดบุคคลให้พ้นจากงาน
          2.4การบริหารกิจการนักเรียน  เป็นการดำเนินงานเกี่ยวกับนักเรียน  เช่น การปฐมนิเทศนักเรียน  การปกครองนักเรียน  การจัดบริการแนะแนว  การบริการเกี่ยวกับสุขภาพนักเรียน  การจัดกิจกรรมและการ
บริการต่างๆ
          2.5การบริหารงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชน  เป็นการบริหารงานเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับชุมชน เช่น การสอนให้นักเรียนนำความรู้ไปใช้ในชุมชน  การช่วยแก้ปัญหาในชุมชน ให้นักเรียนเข้าไปฝึกงานในชุมชน  การเชิญวิทยากรในชุมชนมาให้ความรู้แก่นักเรียน

วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แนะนำตนเอง

ประวัติส่วนตัว
ชื่อ                       นางสาวกฤตติยา  คงนุกูล     
ชื่อเล่น                 เบญ
เกิดวัน                  อาทิตย์ ที่ 6 เดือนตุลาคม พ.ศ.2534
ศาสนา                 คริสต์
คติประจำใจ         ความพยายามอยู่ที่ไหน  ความสำเร็จอยู่ที่นั้น
กิจกรรมยามว่าง   เล่นกีต้าร์  ฟังเพลง  ร้องเพลง
ประวัติการศึกษา 
จบระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดสระแก้ว
จบระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนตรีนิมิตรวิทยา
กำลังศึกษาอยู่ระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ที่อยู่ปัจจุบัน   บ้านเลขที่ 58/1  หมู่ 5  ตำบลท่าไร่  อำเภอเมือง  จังหวัดนครศรีธรรมราช  80000
E-mail             benkrittiya1991@gmail.com